วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

อุบาสิกาปิยวรรณ วีรวรรณ


  
  • นาม
    พระครูสังฆรักษ์ พุทธิพงศ์ อภิชาโต มีชื่อเดิมว่า นาย “พุทธิพงศ์” นามสกุล “ว่องพานิช”
  • วันเกิด
    เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ เดือน มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี ราศีพฤษภ ณ โรงพยาบาลหัวเฉียว ถนนบำรุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โยมบิดาชื่อ “นายไพโรจน์ ว่องพานิช” โยมมารดาชื่อ “นางปิยวรรณ ปฐมรัตน์(วีรวรรณ)” ท่านเป็นลูกคนกลางโดยมีพี่ชายและน้องสาวคือ นายเกียรติศักดิ์ และ นางสาวโศรยา ว่องพานิช
  • ประวัติ
    ท่านได้ใช้ชีวิตในวัยเด็กที่จังหวัดนครปฐม ได้รับการศึกษาภายในโรงเรียนวัดมาโดยตลอด จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ ได้เข้ามาศึกษาต่อภายในกรุงเทพที่โรงเรียนปทุมคงคา ซึ่งปีนั้นเป็นปีแรกที่ได้เริ่มมีการก่อสร้างวัดป่าภูก้อน ดังนั้นในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ของทุกสัปดาห์ซึ่งไม่มีเรียนหนังสือ ท่านและคุณแม่ปิยวรรณต้องเดินทางจากกรุงเทพมาที่พื้นที่ก่อสร้างวัดป่าภูก้อนเพื่อส่งของ วัสดุก่อสร้าง รวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ และต้องรีบกลับเข้ากรุงเทพก่อนเช้าวันจันทร์เพื่อให้ทันเรียนหนังสือ เป็นเช่นนี้ตลอดช่วงการก่อสร้างวัด
  • ช่วงต้นพุทธศักราช ๒๕๓๕ ท่านก็ได้มีโอกาสตามคุณแม่ปิยวรรณ ไปกราบนมัสการพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หรือหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และเมื่อพบกับหลวงปู่เทสก์แล้วก็ได้เกิดธรรมนิมิตเกิดความคิดต้องการที่จะบวชอย่างแรงกล้า
  • ในวันที่ ๒๗ เดือน มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๕ อายุ ๒๔ ปี ท่านได้อุปสมบทครั้งแรก ณ วัดหินหมากเป้ง ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ได้รับฉายา "อนุตฺตโร"
  • ได้จำพรรษาแรกที่วัดหินหมากเป้ง ในพรรษาที่สองและสามก็ได้ตามไปอุปัฏฐากหลวงปู่เทสก์ที่ถ้ำขามจวบจนถึงวาระสุดท้ายที่หลวงปู่เทสก์ได้ละสังขาร จากนั้นได้ไปจำพรรษาทางใต้บ้าง กรุงเทพบ้าง จนถึงวัดบรมนิวาสและได้ลาสิกขาไปเมื่อได้พรรษาที่ ๘ ในเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๒
  • ได้อุปสมบทในบวรพุทธศาสนาอีกครั้ง ในวันที่ ๕ เดือน กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗ ณ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง จังหวัดกรุงเทพมหนคร โดยมี พระเทพญาณวิศิษฏ์(พระธรรมบัณฑิต อภิพล อภิพโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปลัดบุญยืน ปุญญพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และได้รับฉายาคือ “อภิชาโต”
  •  พระพุทธิพงศ์ อภิชาโต ดำรงตำแหน่ง “พระครูสังฆรักษ์” ณ วันที่ ๑๓ เดือน มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓
  • สอบได้นักธรรมชั้นเอก จากสำนักเรียนวัดศรีสุมังคล์ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ ๓๐ เดือน ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
  • ณ วันที่ ๑ เดือน มีนาคม 2561พระครูสังฆรักษ์ พุทธิพงศ์ อภิชาโต ดำรงตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าภูก้อน จวบจนปัจจุบัน
  • https://watpaphukon.org/dean/




ใครเลยจะคิดว่าวันหนึ่ง คุณปิยวรรณ วีรวรรณ “กลับหักมุมชีวิตอย่างเด็ดเดี่ยว” กล้าสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสร้างวัดป่าภูก้อนบนเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ 

คุณปิยวรรณ  วีรวรรณ เล่าเหตุการณ์ที่ทำให้เธอฉุกคิดเรื่องชีวิตขึ้นมาในวันหนึ่งว่า “ครั้งหนึ่งแม่ได้เห็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งที่ตอนนั้นแก่มากแล้ว เรี่ยวแรงในการเดินแทบจะไม่มี เดินอยู่คนเดียว ตอนนั้นแม่เกิดความสลดสังเวชใจ และเกิดความกลัวขึ้นมา ว่า...แล้วฉันจะอยู่อย่างไร เกิดความกลัวเจ็บ กลัวตายขึ้นมา” 

“แม่เป็นคนที่ไม่กลัวใคร พูดจากโผงผาง ตรงไปตรงมา เวลาทำอะไรผิดพลาดก็ไม่เคยมีใครกล้าบอกกล่าวตักเตือน อาจเพราะเกรงใจ  จนวันหนึ่งมีเพื่อนมาชวนทำบุญ แต่ด้วยความที่แม่เป็นชาวพุทธแต่ในนาม ไม่เคยเชื่อถือว่าพระพุทธเจ้ามีจริง! และไม่เชื่อเรื่องการทำบุญ แม่จึงกล่าวท้าว่า “ถ้าพระพุทธเจ้ามีจริง คืนนี้ขอให้ท่านมาให้เราเห็น แล้วเราจะยอมเป็นขี้ข้าม้าคอก จะนับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียว แต่ถ้าไม่มาให้เห็นในคืนนี้ เราก็จะไม่นับถือท่าน และท่านก็อย่าได้โกรธเรา”

          นับจากคืนนั้นเป็นต้นมา “คุณปิยวรรณ” ก็หันมารับใช้พระพุทธศาสนามาตลอด จนถึงวันนี้เป็นเวลาร่วม 30 ปีแล้วที่เธอได้ทำนุบำรุงพุทธศาสนาและศาสนสถานตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ กระทั่งครั้งหนึ่งเธอได้ออกธุดงค์ไปทางภาคอีสาน และบังเอิญได้อ่านหนังสือปฏิปทาของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ทำให้เธอเกิดความซาบซึ้งและเห็นคุณค่าของป่าไม้ว่า เป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ป่าเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอริยสงฆ์ เมื่อได้รู้คุณค่าของป่าแล้ว ก็เกิดความรักและความหวงแหน ถึงขั้นปฎิญาณว่า จะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาป่าไว้ โดยการเสียสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ การเสียสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต และยอมเสียชีวิตเพื่อรักษาธรรม ความมุ่งหมายของตนให้ได้” 
                
ในครั้งนั้นเองขณะไปธุดงค์วัดในแถบภาคอีสาน ได้มีพระรูปหนึ่งเล่าให้เธอฟังว่า “ป่าที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งบนภูก้อนกำลังถูกสัมปทานตัดไม้” คุณแม่เกิดความเสียดายอย่างยิ่ง จึงรีบไปดูป่าแห่งนี้ ขณะเดินอยู่ในป่าเธอได้ยินเสียงกระซิบว่า “ทศพิธราชธรรม กรรมพินิจ จิตขจร ภมรมาศ อาสนะเทวา” ถึง 3 ครั้ง... “แม่รู้สึกว่ารุกขเทวดาอยากให้เรารักษาป่านี้ไว้ จึงได้ตั้งปณิธานว่าจะต้องหาทางรักษาป่านี้ไว้ให้ได้ สุดท้ายเลยคิดว่าควรสร้างวัดขึ้นในป่านี้ เพื่อที่รักษาป่าไม้ เพราะวัดซึ่งเป็นพุทธสถานที่จะสามารถรักษาป่าให้อยู่ได้ตราบนานเท่านาน”  ...และนี่คือจุดกำเนิดของวัดป่าภูก้อน
 “ณ ตอนนั้น แม่ยื่นเอกสารเดินเรื่องกับกรมป่าไม้ เพื่อไม่ให้มีการสัมปทานป่าไม้บนภูก้อนแม้จะมีการตีตราไว้แล้ว ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะต่อสู้ให้ได้ป่าผืนนี้กลับคืนมาจนกระทั่งได้รับอนุญาตให้สร้างวัดขึ้นได้บนพื้นที่ป่าแห่งนี้ จาก 15 ไร่ ไปสู่การรับมอบหมายจากกรมป่าไม้ให้ช่วยดูแลพื้นที่ป่าอีก 1,000 ไร่ และเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ไร่” จนถึงปัจจุบันวัดป่าภูก้อนได้ขนานนามว่า ‘พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน’ ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม จังหวัดอุดราธานี

            คุณปิยวรรณ วีรวรรณ  เล่าว่า “ในเมืองไทย ยังไม่ค่อยได้พบเห็นพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ที่แกะสลักด้วยหินอ่อนขาวบริสุทธิ์ทั้งองค์มาก่อน จึงคิดสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทำทั้งทีก็ต้องทำให้งามที่สุด และอยู่คงกระพันชั่วลูกชั่วหลาน ปรากฏว่าได้พบกับช่างปั้น อ.นริศ รัตนวิมล ผู้เป็นยอดศิลปินประติมากรหินเป็นผู้ออกแบบและแกะสลักองค์พระพุทธรูปรวมทั้งเหล่าศิลปินที่มีฝีมือมากมายได้มาร่วมกันสร้าง”

 จากเดินทางรอบโลกเพื่อหาหินอ่อนที่ขาวบริสุทธิ์และมีความทนทานที่สุด คุณปิยวรรณ วีรวรรณ ก็ได้พบแหล่งหินอ่อนที่งามที่สุดของโลกอยู่ที่เมืองคาราร่า ประเทศอิตาลี ...โดยหินอ่อนมีน้ำหนักเฉลี่ยหนักก้อนละ 15-30 ตันและ 55 ตัน ถูกลำเลียงข้ามมหาสมุทรมาขึ้นฝั่งที่เมืองไทย  และลำเลียงขึ้นสู่ยอดเขาภูก้อนเพื่อแกะสลักเป็นองค์พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาวบริสุทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย โดยใช้เวลารวม 2 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ในปลายปี 2551 ได้รับพระมหากุรณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 พระราชทานนามว่า “พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี” แปลว่า พระพุทธรูปปางไสยาสน์แห่งพระมหามุนีผู้ทรงเป็นบรมครู ที่ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก 
  

ทั้งหมดนี้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ 84 พรรษา ในปี 2554 

 วัดป่าภูก้อน อ.นายูง จ.อุดรธานี www.watpaphukon.org







http://entertain.enjoyjam.net/forum/index.php?topic=19562.0