วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560

การลงโทษข้าราชการและเจ้าหน้าที่ขอรัฐ



หัวข้อ




  • เผาบ้านเผาเมืองที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศาลฎีกาสั่งชดใช้21ล้าน
    ปี53
  • ศาลฎีกาสั่งจำคุกปลอดประสพ สุรัสวดีอดีตรองนายกสมัยยิ่งลักษณ์
ฐานเป็นเจ้าพนักงานประพฤติมิชอบ ในการสั่งย้ายข้าราชการ ให้จำคุก1ปี8เดือน ไม่รอลงอาญา https://youtu.be/AZicaZ0rx88
  • ย้ายบิ๊กโจ๊ก
  • นักการเมืองแจ้งบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จปี62 https://www.isranews.org/isranews/83977-invest-83977.html
  • นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • กรณีข้าราชการสรรพากรช่วยเหลือนายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร (คุณากรวงศ์) บุตรของนายทักษิณ ไม่ต้องเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อย
  • ไล่ออกข้าราชการในพระองค์ https://youtu.be/PDLHGUxoBu4
  • ยึดทรัพย์พ.ต น.พวีระวุธ วัจนพุกกะ 896ล้าน คดีจีทูจี/นายสมหวัง อัศราศรี แกนนำนปช ถูกฟ้องล้มละลาย สรรพากร้รียก้ก็บภาษี572ล้าน
  • จบคดีบุญทรง
  • มีลูกเมียแล้ว ยังไปยุ่งกับลูกเมียคนอื่นhttps://youtu.be/Rx28ehB20Vs  
  • ไล่ออกผอ.ศูนย์คุ้มครองฯจ.ขอนแก่นและหน.ฝ่ายสวัสดิการสังคม
  • คำพิพากษาจำคุกจำคุกอดีตผู้บังคับการสอบสวนกลาง อดีตพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน
  • การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
  • ทำไมถึงลาออกจากอาชีพข้าราชการครู 
  • คำพิพากษาจำคุก นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 
  • คลิปลูกเอาเงินสอดในสมุดพก เพื่อให้พ่อเซ็นสมุดพกให้
  • ไขรหัสปล้นบ้าน'ปลัดสุพจน์' กับที่มา 'ร่ำรวยผิดปกติ
  • รองผบ.อ.ต.ก.ถูกจำคุก รับหัวคิวจัดวัตถุดิบให้เรือนจำ
  • คำพิพากษาจำคุกอดีตผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • พล.ต.ท ศานิตย์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลอ้างลูกน้องกรอกผิด
  • จำคุก 1 ปี คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าฯ สตง.
  • ปลดนายพนม ศรศิลป์ ผอ.สน.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  • ไล่ออกพล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง
  • รอการลงโทษคุก2ปี6เดือนนพ.ชัยวัน เจริญโชคทวี อดีตคณบดีแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล ใช้ของหลวงงานแต่งลูกhttp://www.bbc.com/thai/thailand-39119559?#_=_




***************************************************


บอส อยู่วิทยาขับรถเฟอร์ราลี่ชนคนตาย อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง
สน.ตำรวจแห่งชาติไม่ค้าน พบโคเคนในตัวบอส ตำรวจไม่ดำเนินคดี 





 ชดใช้เงินเผาบ้านเมือง




เผาบ้านเผาเมืองที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศาลฎีกาสั่งชดใช้21ล้าน
ปี53 https://youtu.be/JCXSN5Sk4bM


https://youtu.be/7T8jVEdvA1E


เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน ประจำปีการศึกษา 2560 ยื่นฟ้องมหาวิทยาลัยคริสเตียน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน ที่ 2 และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา เดิม) ที่ 3 รวม 19 คดี ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2560 ทั้งที่คณะกรรมการสภาการพยาบาลมีมติให้คณะพยาบาลศาสตร์ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 งดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2560 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแลหลักสูตรและการเรียนการสอนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่ ปล่อยให้ถูกฟ้องคดีที่ ม1 นำหลักสูตรที่ยังไม่ผ่านการรับรองจากสภาการพยาบาลมาเปิดรับสมัครนักศึกษา ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย
แต่ผู้ถูกฟ้องที่ 1 โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 หาได้ดำเนินการเช่นว่านั้นไม่ กลับทำการเปิดรับสมัครนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์  หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ประจำปี 2560 ทั้งในระบบรับตรงและระบบคัดเลือกผ่านระบบกลาง (Admission) อันเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสภาการพยาบาล และย่อมเล็งเห็นได้ว่าจะส่งผลให้นักศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2560 หากสำเร็จการศึกษาไปแล้ว จะไม่สามารถขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ได้ตามความประสงค์อันแท้จริงในการสมัครเข้ารับการศึกษาการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็การกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี
https://www.isranews.org/isranews/83880-court-83880.html

PIC benjalui 26 12 62 1
เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2562 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง
นางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรมช.คลัง รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 
อดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง 
อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ 
อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร นายกริช วิปุลา นุสาสน์ ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร 
และ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร อดีตภรรยานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 
เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต  กรณีช่วยเหลือนายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร (คุณากรวงศ์) บุตรของนายทักษิณ ไม่ต้องเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย จากกรณีการซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 เสียหายกว่า 7.9 พันล้านบาท 
 เบื้องต้นศาลฎีกาเห็นว่า ฎีกาทุกข้อของจำเลยที่ 1-5 ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยที่ 1-4 อ้างว่า ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนทั้งทางอาญาและทางวินัย ขอให้ศาลลงโทษสถานเบานั้น เห็นว่า พฤติการณ์การกระทำผิดดังกล่าวร้ายแรง ส่วนจำเลยที่ 5 มีพฤติการณ์ปกปิดข้อเท็จจริงการกระทำความผิดในคดีนี้ จึงไม่ลงโทษสถานเบา อย่างไรก็ดีจำเลยที่ 1-5 ให้ทางนำสืบพอเป็นประโยชน์อยู่บ้าง จึงพิพากษาแก้ลดโทษให้ 1 ใน 3 โดยจำเลยที่ 1-4 มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ  จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ส่วนจำเลยที่ 5 ฐานสนับสนุนให้เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา
https://www.isranews.org/isranews/83879-isranews-83879.html



ยึดทรัพย์พ.ต น.พวีระวุธ  วัจนพุกกะ896ล้าน คดีจีทูจี


/นายสมหวัง อัศราศรี แกนนำนปช ถูกฟ้องล้มละลาย สรรพากรเรียกเก็บภาษี572ล้าน

https://youtu.be/uRxaRfXLVWY


จบคดีบุญทรง จำคุก48ปี

https://youtu.be/kAIS7hjimLA



ไล่ออกผอ.ศูนย์คุ้มครองฯจ.ขอนแก่นและหน.ฝ่ายสวัสดิการสังคม
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10160561228205085&id=330743535084

********************************************************************

คำพิพากษาจำคุกอดีตผู้บังคับการสอบสวนกลาง https://youtu.be/TT4TrzDfdig

23พ.ย2557 ทางเจ้าหน้าที่ยังได้เข้าตรวจค้นที่บ้านพัก พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ พบเงินสดเป็นธนบัตรดอลลาร์ รวมทั้งสิ้นหลายสิบล้านดอลลาร์กับทองคำแท่ง ทองรูปพรรณจำนวนมาก ส่วนที่บ้าน พล.ต.ต.โกวิท วงศ์รุ่งโรจน์ อดีต รอง ผบช.ก. พบธนบัตรและทองคำในบ้านจำนวนมากเช่นกัน มีวัตถุโบราณล้ำค่าอีกจำนวนมาก ประเมินมูลค่าทรัพย์สินไม่น่าต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ก่อนพิจารณานำหลักฐานทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการอายัด และดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน รายละเอียดสมบูรณ์ดูที่
https://th.m.wikipedia.org/wiki/พงศ์พัฒน์_ฉายาพันธุ์

********************************************************************


กรณีเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่  เป็นเรื่องของอาจารย์รายหนึ่ง  ได้รับการตำแหน่งดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์  (ผศ.) แต่่ถูกตรวจสอบพบว่า ไม่ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในประเทศอังกฤษจริง ใช้หลักฐานทางการศึกษาและใบปริญญาบัตรปลอมในการสมัครเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งอาจารย์ วุฒิปริญญาเอก (บัญชีและการเงิน) มหาวิทยาลัยฯ จึงได้มีคำสั่ง ที่ 208/2560 เรื่อง การพ้นสภาพการเป็นพนักงาน และกำลังถูกพิจารณาเรียกคืนเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการย้อนหลังด้วย 




จัดระเบียบธรรมาภิบาลสถาบันอุดมศึกษา เกือบ 4 เดือน ประธานกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนนายกสภา มบ. ตรวจสอบพบบางหลักสูตรของปริญญาโท-เอก   ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากมีการรับนักศึกษามากเกินไปและจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาไม่พอ

จากกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งที่ 2/2559 ตามอำนาจมาตรา 44 รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว)  เรื่องการกำหนดรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาอื่น ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 39/2559 โดยการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งปรากฏมี มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.)  รวมอยู่ด้วยนั้น 

ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการดําเนินการของสถาบันอุดมศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ รศ.ดร. อานนท์ เที่ยงตรง ประธานกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.) กล่าวกับสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2560  ที่ผ่านมาสภามหาวิทยาลัยบูรพาได้มีการประชุมพร้อมลงมติเกี่ยวกับเรื่องการสำเร็จการศึกษาของหลักสูตร ปริญญาโทและปริญญาเอก  พบว่ามีปัญหาในเรื่องของการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ ที่ไม่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย  สภามบ. จึงมีมติว่าผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาพร้อมเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ในเดือนพฤษภาคม 2560  นั้นถ้ามีการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ไม่ตรงตามกำหนดก็จะถูกถอดถอนรายชื่อจากการรับพระราชทานปริญญาบัตร ทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก  

ส่วนการประชุมสภา มบ. วันที่ 23 ก.พ. 2560  รศ.ดร.อานนท์ กล่าวว่า  สภามหาวิทยาลัยได้ตรวจสอบหลักสูตรของปริญญาโทและปริญญาเอก  ในบางสาขาวิชาแล้วพบว่า หลักสูตรปริญญาเอกของวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์  3 หลักสูตรไม่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากมีการรับนักศึกษามากเกินไปและจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน มีจำนวนที่น้อยเกินไป รวมทั้งขาดคุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน  จึงมีมติให้งดรับนักศึกษาใหม่ พร้อมทั้งหาอาจารย์ที่ปรึกษาใหม่มาเป็นผู้ดูแลนักศึกษาที่ยังศึกษาอยู่ ในหลักสูตรดังต่อไปนี้  1.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์  2.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ  3.บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)  โดยวิชาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตมีอาจารย์ขาดคุณสมบัติจำนวน  2  คน  ส่วนในเรื่องของการการจัดการกับอาจารย์ที่ปรึกษาที่ไม่ได้มาตรฐานนั้นขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดการว่าจะจัดการอย่างไร 

รศ.ดร.อานนท์ กล่าวด้วยว่า สภามหาวิทยาลัยจะมีการตรวจสอบย้อนหลัง หากพบว่านักศึกษาที่เรียนจบแล้ว ไม่ส่งเล่มวิทยานิพนธ์ให้กับทางมหาวิทยาลัยก็จะถูกถอนใบปริญญาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก  โดยในการถอนใบปริญญานั้นจะมีการตรวจย้อนหลังทั้งสิ้น  5  ปี  ซึ่งในแต่ละปีจะมีนักศึกษาที่จบปริญญาโทและปริญญาเอกไม่ต่ำกว่า 2,000 คน 

“ในเบื้องต้นมีการตรวจสอบไปเพียง 3 หลักสูตรเท่านั้น กำหนดการประชุมอีกครั้ง ในวันที่ 9 มีนาคม 2560 และวันที่ 23 มีนาคม 2560  คาดว่า จะทราบผลการตรวจสอบย้อนหลัง และจะมีการตรวจสอบอีก 135 หลักสูตร ทั้งระดับปริญญาโท 87 หลักสูตร ปริญญาเอก 48 หลักสูตร ทั้งนี้เพราะเพื่อคุณภาพของการศึกษา”


 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ได้ลงมติชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงแก่อธิการบดี และรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ (เบื้องต้น ยังไม่มีการเปิดเผยรายชื่อ) พร้อมให้รับผิดทางละเมิดคืนเงินจำนวน 6,040,487.13 บาท จากการอนุมัติโครงการ ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ของ กรรมการสภามหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จำนวน 40 คน ในช่วงวันที่ 17-29 มี.ค. 2557 กำหนดเดินทางไปดูงานที่ จีน เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส 4 ประเทศ รวมระยะเวลา 13 วัน
ภายหลังจากที่ สตง.ตรวจสอบพบว่า การศึกษาดูงานในส่วนของจีน จำนวน 4 วัน มีการศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวนครึ่งวัน ส่วนการศึกษาดูงานอีก 3 ประเทศ ที่เหลือรวม 9 วัน เป็นการเยี่ยมชมและท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญภายใต้หัวข้อ "ยุโรปเมืองโรแมนติกในฝัน" เท่านั้น ไม่ได้มีการศึกษาดูงานการบริหารและการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศดังกล่าว ตามที่ระบุไว้ในโครงการศึกษาดูงานที่มีการของบประมาณแผ่นดินไว้แต่อย่างใด
ขณะที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) . จะตรวจสอบต่อไปว่าผู้บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีการกระทำอันเป็นการทุจริตหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือไม่ เพื่อเสนอ ป.ป.ช.พิจารณาดำเนินคดีอาญาต่อไป และจะเสนอคณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลังของ สตง.ไต่สวนและลงโทษทางปกครองด้วยนั้น
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบพบข้อมูลว่า เอกชนที่ผู้รับผิดชอบนำกรรมการสภามหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จำนวน 40 คน ไปศึกษาดูงานที่ จีน เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส 4 ประเทศ รวมระยะเวลา 13 วัน ดังกล่าว คือ 'พี.ดี.เอ็กซ์เพรสเชียงใหม่ทัวร์' โดยปรากฎหลักฐานยืนยันจากภาพถ่าย ที่นำมาเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ 'พี.ดี.เอ็กซ์เพรสเชียงใหม่ทัวร์'  http://www.pdchiangmaitours.com/aboutus.php  ในหัวข้อรวมภาพบรรยากาศประทับใจ  (ดูรูปภาพประกอบ) http://www.isranews.org/investigative/investigate-procure/item/54263-news05-54263.html

คำสั่งไล่ออกราชการ ศ.ประกอบ วิโรจนกุฏ อดีตอธิการบดีม.อุบล 
หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง เหตุไม่ปฏิบัติตามระเบียบใช้จ่ายเงิน คดีทอดกฐิน-ให้ทุนมิชอบ มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน

 เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2560 ที่ผ่านมา นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา ได้ลงนามในคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการอุดาศึกษา ที่37/2560 ลงโทษไล่ออกศาสตราจารย์ ประกอบ วิโรจนกุฏ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ออกจากราชการ

โดยในคำสั่งระบุว่า การลงโทษไล่ออกจากราชการดังกล่าว เป็นผลมาจากการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีการประชุมครั้งที่ 815-89/2559 ลงวันที่ 10 พ.ย.2559 มีมติชี้มูลทางวินัยร้ายแรงแก่ ศาสตรจารย์ประกอบ วิโรจนกุฏ ว่าไม่ปฏิบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วยการเงินและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ.2534 และใช้จ่ายเงินรายได้ที่ไม่อยู่ในวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ.2533 ดังนี้

1. อนุมัติให้ยืมเงินสำรองหมุนเวียน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบราชการ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการทอดกฐินสามัคคีและมอบทุนการศึกษาประจำปี 2549 2.การให้ทุนแก่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ในโครงการส่งเสริมศักยภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษจากการเรียนรู้สภาพจริงกับเจ้าของภาษา ครั้งที่ 1 และ 3. โครงการส่งเสริมศักยภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษจากการเรียนรู้สภาพจริงกับเจ้าของภาษาครั้งที่ 2

2. อนุมัติให้กู้ยืมเงินสวัสดิการเพื่อการศึกษาแก่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยทั้งข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 165 ราย โดยที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีไม่ได้จัดสรรรายได้ตั้งเป็นเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อเสนอให้สภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อนุมัติงบประมาณสำหรับการให้กู้ยืม

เบื้องต้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและแบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 39 วรรคสามและวรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547

อาศัยอำนาจตามมาตรา 92 และมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2554 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547 ประกอบมาตรา 30 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 จึงลงโทษไล่ออกศาสตราจารย์ประกอบ วิโรจนกุฏ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.2553 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม หากศาสตรจารย์ประกอบ วิโรจนกุฏ  ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งลงโทษ ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ (ก.อ.ร.) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งคำสั่งนี้ (ดูคำสั่งท้ายข่าว)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้ติดต่อไปยังรศ.ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ได้รับการยืนยันว่า ได้รับทราบคำสั่งไล่ออกศาสตราจารย์ประกอบ จากสกอ.แล้ว หลังจากนี้จะแจ้งกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยฯรับทราบต่อไป รวมถึงแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตามขั้นตอนทั้งเรื่องบำเน็จบำนาญ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่ทั้งนี้ต้องรอให้คดีความถึงที่สุดก่อน








หน้า   ๒๑
เล่ม   ๑๓๓   ตอนพิเศษ  ๑๕๕   ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๓   กรกฎาคม   ๒๕๕๙

คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่  ๓๙/๒๕๕๙
เรื่อง  การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา


ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า  สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งเปิดการสอนและจัดการศึกษาทั้งใน
และนอกสถานที่ตั้งโดยใช้หลักสูตรที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน  ผลิตบัณฑิตที่มีปัญหาด้านคุณภาพ
และไม่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ  ซึ่งสภาสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้  สภาสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งอาศัยอํานาจ
และช่องว่าง
ทางกฎหมายดําเนินการในลักษณะที่ส่อเจตนาแสวงหาประโยชน์ส่วนตน  หรือเพื่อให้คงอยู่
ในตําแหน่งต่อไป  มีการกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้าม  จนกระทั่งเกิดปัญหาร้องเรียนและฟ้องร้องทางคดีเป็นจํานวนมาก  ทําให้เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่และการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา   แม้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้พยายามใช้กลไกทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวแก้ไข  ทบทวน  หรือดําเนินการใหม่ในเรื่องต่าง ๆ  แล้ว  แต่ไม่อาจทําให้ปัญหาคลี่คลายได้โดยเร็ว  การดําเนินการของสถาบันอุดมศึกษาเหล่านี้จึงไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล  และส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศโดยตรง  ดังนั้น  เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลและธํารงไว้ซึ่งความเป็นสถาบันทางวิชาการชั้นสูงของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง  จึงจําเป็นต้องแก้ไขสถานการณ์ความไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของการดําเนินการ ของสถาบันอุดมศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ  และสร้างความมั่นใจให้แก่สังคมโดยรวมต่อไป

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา  ๔๔  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช  ๒๕๕๗  หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง  ดังต่อไปนี้

ข้อ  ๑  ในคําสั่งนี้  “สถาบันอุดมศึกษา”   หมายความว่า  สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่อยู่ในสังกัด
และในกํากับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ  และให้หมายความรวมถึงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมาย ว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนด้วย

ข้อ  ๒  ในกรณีที่ปรากฏว่าการดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา
กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา  หรืออธิการบดี  ก่อให้เกิดความขัดแย้ง  ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  หรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอํานาจยับยั้งการแต่งตั้งหรือการดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้ที่จะดํารงตําแหน่งดังกล่าว

ข้อ  ๓  เพื่อให้การดําเนินการของสถาบันอุดมศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด  การแต่งตั้งบุคคล
ให้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  ดังต่อไปนี้

  หน้า   ๒๒
เล่ม   ๑๓๓   ตอนพิเศษ  ๑๕๕   ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๓   กรกฎาคม   ๒๕๕๙

(๑)  ผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาจะดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา
ในเวลาเดียวกันเกินสามแห่งไม่ได้

(๒)  ผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาจํานวนสองแห่งแล้ว  อาจได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง
นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอีกได้ไม่เกินหนึ่งแห่ง 

(๓)  ผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาจํานวนหนึ่งแห่งแล้ว  อาจได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอีกได้ไม่เกินสองแห่ง

(๔)  ผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาจํานวนสี่แห่งแล้ว  ไม่อาจได้รับแต่งตั้ง
ให้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาในเวลาเดียวกันนั้นได้อีก

ผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐตามวรรคหนึ่ง  ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน  เบี้ยประชุม  หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจาก
ในฐานะนายกสภาสถาบันอุมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา  จากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น
เว้นแต่เป็นไปตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่นํามาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งนายกสภา
สถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ 

ข้อ  ๔  ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษารายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
เมื่อปรากฏว่าสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาแห่งใดมีกรณี  ดังต่อไปนี้ 
(๑)  จัดการศึกษาไม่เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาหรือมาตรฐานหลักสูตร  จนอาจก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่นิสิตนักศึกษา  ระบบการศึกษา  สังคม  หรือประเทศชาติ
 
(๒)  จงใจ  หลีกเลี่ยง  หรือประวิงการปฏิบัติตามกฎหมาย  กฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับของ
สถาบันอุดมศึกษา  หรือคําสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่สั่งการตามคําสั่งนี้หรือตามกฎหมาย

(๓)  นายกสภาสถาบันอุดมศึกษา  กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา  หรือผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา
มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต

(๔)  ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในสถาบันอุดมศึกษาจนสภาสถาบันอุดมศึกษา
หรือสถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 

ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  คณะกรรมการการอุดมศึกษาอาจแต่งตั้งคณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ  คณะทํางาน  หรือมอบหมายบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคน  ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน

ข้อ  ๕  เมื่อมีกรณีตามข้อ  ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคําแนะนําของ
คณะกรรมการการอุดมศึกษามีอํานาจสั่งการให้สภาสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น
ยับยั้งการรับนิสิตนักศึกษา  ปิดหลักสูตร  ยุติการจัดการศึกษา  หรือดําเนินการอื่นใด

  หน้า   ๒๓
เล่ม   ๑๓๓   ตอนพิเศษ  ๑๕๕   ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๓   กรกฎาคม   ๒๕๕๙

ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอํานาจขอข้อมูลจากบุคคล
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  หรือสั่งให้ดําเนินการในเรื่องเกี่ยวกับการได้มาซึ่งผู้ดํารงตําแหน่งต่าง ๆ 
ในสถาบันอุดมศึกษาภายในระยะเวลาที่กําหนด  หรือให้ดําเนินการใด ๆ  เพื่อระงับ  ยับยั้ง  หรือยุติ
เหตุที่เกิดขึ้นนั้น

ข้อ  ๖  เมื่อมีกรณีตามข้อ  ๔  และปรากฏว่าสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น
เป็นสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคําแนะนําของคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอํานาจสั่งให้สถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นอยู่ในความควบคุมของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามมาตรา  ๘๖  วรรคสอง  แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  พ.ศ.  ๒๕๔๖

ข้อ  ๗  ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาดําเนินการทางอาญา  ทางละเมิด
หรือทางวินัยแก่ผู้ซึ่งได้กระทําการให้เกิดเหตุตามข้อ  ๔  ด้วย

ข้อ  ๘  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคําแนะนําของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กําหนดมาตรการให้สถาบันอุดมศึกษาแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่นิสิตนักศึกษา
ซึ่งได้รับผลกระทบจากการดําเนินการตามข้อ  ๕  หรือข้อ  ๖  หรืออาจสั่งหรือมอบหมายให้สถาบันอุดมศึกษาอื่นร่วมดําเนินการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายของนิสิตนักศึกษาเหล่านั้นด้วยก็ได้ 

ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  สภาสถาบันอุดมศึกษา  ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา  หรือบุคลากร
ของสถาบันอุดมศึกษาที่ถูกดําเนินการตามข้อ  ๕  หรือข้อ  ๖  ไม่พ้นจากความรับผิดในความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นแก่นิสิตนักศึกษา

ข้อ  ๙  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคําแนะนําของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
มีอํานาจสั่งให้ผู้ดํารงตําแหน่งใดในสถาบันอุดมศึกษาหยุดการปฏิบัติหน้าที่  พ้นจากตําแหน่งหน้าที่ 
หรือให้ไปปฏิบัติงานในหน่วยงานแห่งอื่น  และแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคน เข้าปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งต่าง ๆ  ในสถาบันอุดมศึกษานั้น 
ในกรณีที่นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
แห่งใดต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตําแหน่งหน้าที่ทั้งคณะ  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นจํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน 

ผู้ซึ่งถูกสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตําแหน่งหน้าที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน 
เบี้ยประชุม  สิทธิประโยชน์  หรือเงินประจําตําแหน่งในตําแหน่งนั้น   ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ  ในสถาบันอุดมศึกษาตามคําสั่งนี้   มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน  เบี้ยประชุม  สิทธิประโยชน์  หรือเงินประจําตําแหน่ง  ตามระเบียบของทางราชการหรือตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากําหนด  แล้วแต่กรณี 


 หน้า   ๒๔
เล่ม   ๑๓๓   ตอนพิเศษ  ๑๕๕   ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๓   กรกฎาคม   ๒๕๕๙

ข้อ  ๑๐  ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้  ที่ได้กระทําการไปตาม
อํานาจหน้าที่โดยสุจริต  ไม่เลือกปฏิบัติ  และไม่เกินสมควรแก่เหตุ  ย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้อง
รับผิดทางแพ่ง  ทางอาญา  หรือทางวินัย  แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหาย
จากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ช้อ  ๑๑  การแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่นิสิตนักศึกษาตามข้อ  ๘  รวมทั้ง
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตามคําสั่งนี้  ให้เบิกจ่ายจากสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นต้นเหตุ
แห่งการนั้น

ข้อ  ๑๒  เมื่อคําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ  ให้ดําเนินการตามคําสั่งนี้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิโดยทันที
การนําข้อ  ๔  ข้อ  ๕  ข้อ  ๖  ข้อ  ๗  ข้อ  ๘  ข้อ  ๙  ข้อ  ๑๐  และข้อ  ๑๑  มาใช้บังคับแก่
สถาบันอุดมศึกษาอื่นนอกจากสถาบันอุดมศึกษาตามวรรคหนึ่ง  ซึ่งกระทําผิดกฎหมายหรือมีกรณีตามข้อ  ๔  และการแก้ไขเยียวยาโดยมาตรการปกติไม่อาจทําได้  หรือล่าช้าจนเกิดความเสียหายต่อระบบการศึกษาหรือนิสิตนักศึกษาจํานวนมาก  ให้เป็นไปตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศกําหนด

ข้อ  ๑๓  ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคําสั่งนี้  ให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยของ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ข้อ  ๑๔  สถาบันอุดมศึกษาใดมิได้อยู่ในสังกัดหรือในกํากับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ 
ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีซึ่งกํากับดูแลหรือรักษาการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษานั้น  มีอํานาจหน้าที่ดําเนินการหรือสั่งให้สถาบันอุดมศึกษานั้นปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยอนุโลม  โดยจะขอคําแนะนําจากคณะกรรมการการอุดมศึกษาด้วยหรือไม่ก็ได้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคําสั่งนี้  ให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยของรัฐมนตรี ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ  ๑๕  คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง  ณ  วันที่  ๑๒  กรกฎาคม  พุทธศักราช  ๒๕๕๙
พลเอก  ประยุทธ์  จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

*******************************************************************************
ทำไมถึงลาออกจากอาชีพข้าราชการครู

 https://youtu.be/sxC16q3glmg

*******************************************************************************

ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพในเช้านี้(ส.26ส.ค60)
 ภายหลังจากที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มีคำพิพากษาจำคุก นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิ สารผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพวก โดยนายบุญทรงถูกจำคุก 42 ปี นายภูมิ 36 ปี ในคดีจำนำข้าว
http://news.sanook.com/3281186/

*********************************************************************************

คลิปลูกเอาเงินสอดในสมุดพก เพื่อให้พ่อเซ็นสมุดพกให้
  https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1383051185077699&id=100001184910424

********************************************************************************
ไขรหัสปล้นบ้าน'ปลัดสุพจน์' กับที่มา 'ร่ำรวยผิดปกติ!?' โดย พลิกแฟ้มอาชญากรรม 28 ก.พ. 25

อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/406247


อดีตปลัด ก.คมนาคม ‘สุพจน์ ทรัพย์ล้อม’ ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลอีกคดีปกปิดบัญชีทรัพย์สิน ส่งศาลฎีกาฯวินิจฉัย  นัด 18 พ.ค. ก่อนหน้าโดนยึดรวยผิดปกติ 64.9 ล.
surapot 290417
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า  นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ชี้มูลอีกหนึ่งคดี กรณีจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จโดยส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยล่าสุดศาลฎีกาฯนัดไต่สวนหรือนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 18 พ.ค.นี้ (คดีหมายเลขดำที่ อม.27/2560)
ก่อนหน้านี้เมื่อ 24  ก.ค. 2555  นายสุพจน์ถูก คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลในข้อกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ จำนวน 64.7 ล้านบาท   และ  ส่งเรื่องให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลอาญายึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน   กระทั่ง ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของ นายสุพจน์ กับพวก ซึ่งเป็นเครือญาติ 7 คน อาทิ เงินสด เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ต่างๆ รวม 9 บัญชี เงินฝากในสหกรณ์ออมทรัพย์กรมทางหลวง โฉนดที่ดินย่านต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด บ้านพัก รถยนต์ ห้องชุด รวมมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน
เมื่อวันที่ 31  ม.ค. 2557 นายสุพจน์ถูกศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตามคำร้องของอัยการสูงสุด 19 รายการ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 46,141,038 .83 บาท ของนายสุพจน์ และที่มีชื่อของภรรยา , บุตรสาว และบุตรเขย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมดอกผลที่เกิดขึ้นนั้นตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยให้นายสุพจน์ ส่งมอบทรัพย์สินต่อกระทรวงการคลัง  
ศาลเห็นว่าข้อกล่าวอ้างของนายสุพจน์เลื่อนลอย รวมทั้งการโต้แย้งและคัดค้านของนายสุพจน์ไม่อาจจะนำมารับฟังได้  เช่น การอ้างว่าเข้ารับราชการตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.2520 จนกระทั่งถึงวันยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2545 มาคิดคำนวณแล้วจะเป็นเงินประมาณ 5,000,000 บาทเศษ ก็น่าเคลือบแคลงสงสัยมากขึ้นไปกว่าเดิม เพราะเหตุใดนายสุพจน์จึงมีทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วจะมีทรัพย์สินรวมกันจนถึงวันที่ ป.ป.ช.ลงมติชี้มูลว่าร่ำรวยผิดปกติ  มีมูลค่าสูงถึงที่ศาลนำมาวินิจฉัยจำนวน 46 ล้านบาทเศษ  ต่อมานายสุพจน์และครอบครัวยื่นอุทธรณ์
11 พ.ย. 2558  ศาลอุทธรณ์ เห็นว่าทรัพย์ตามคำร้องได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่และเกิดจากความร่ำรวยผิดปกติ จึงต้องสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ทรัพย์สินรวม 46,141,038 .83 บาท ตกเป็นของแผ่นดินโดยนำบัญชีเงินฝาก 3 บัญชี ที่ปิดแล้วจำนวน 15,857,548.69 บาท หักออกจากมูลค่าทรัพย์สินที่ อสส.ยื่นคำร้องนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วย เมื่อฟังได้ว่านายสุพจน์ ผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติ แม้ภายหลังมีการปิดไปแล้วก็ต้องนำเงิน 15,857,548.69 บาท มารวมอยู่ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติด้วย
ส่วนรถยนต์ยี่ห้อ VOLK SWAGEN มูลค่า 3 ล้านบาทแม้ไม่มีชื่อของนายสุพจน์เป็นเจ้าของ แต่รับฟังได้ว่ามีการมอบรถให้นายสุพจน์ใช้อย่างถาวร จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเกิดจากการร่ำรวยผิดปกติด้วย เมื่อนำทรัพย์สินดังกล่าวกับมูลค่าทรัพย์สินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว จะรวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587.52 บาท อุทธรณ์ผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น   จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้รถยนต์ยี่ห้อ VOLK SWAGEN มูลค่า 3 ล้านบาท รวมเข้ากับทรัพย์สินอื่นตามคำสั่งศาลชั้นต้น รวมมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587.52 บาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
 นอกจากนี้นายสุพจน์ยังมีคดีค้างในชั้นไต่สวนของ ป.ป.ช.กรณีถูกกล่าวหาทุจริตต่อหน้าที่อีกหนึ่งคดี

**************************************************************
ศาลอาญาคดีทุจริตฯ สั่งจำคุกอดีต ‘พงษ์วิทย์’ รอง ผอ. อ.ต.ก. 8 ปี คดีเรียกรับหัวคิวจัดซื้ออาหารดิบ 1.5 ล้านเรือนจำจังหวัดชุมพรจากเอกชน พวก โดน 5 ปี 4 เดือน หลัง ป.ป.ช.ร่วม ตร.จับสดคาโรงแรม

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้นัดพิพากษาคดี นายพงศ์วิทย์ เหลืองช่วยโชค รองผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (รอง ผอ. อ.ต.ก.)กรณีเรียกรับเงิน 1.5 ล้านบาท ค่าอาหารเรือนจำจังหวัดชุมพร โดยศาลพิพากษาจำคุกนายพงษ์วิทย์ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 8 ปี นายวิชา สัจจาวรรรณ์ จำเลยที่ 2 เป็นเวลา 5 ปี 4 เดือน 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มาของเรื่องนี้ เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 17 มิ.ย.2557 นายวิทยา อาคมพิทักษ์ ขณะเป็นรองเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ต.อ.สุรพงษ์ ถนอมจิต รองผบก.ภ.จว.นนทบุรี และพ.ต.ท.ปัณณพัฒน์ เดชโชติพิสิฐ รองผกก.สส.สภ.เมืองนนทบุรี ร่วมแถลงข่าวจับกุมนายพงศ์วิทย์ เหลืองช่วยโชค รองผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) อยู่บ้านเลขที่ 4 ซอยลาซาล 34 แยก 5 แขวง-เขตบางนา กทม. และนายวิชา สัจจาวรรณ์ อายุ 51 ปี ชิปปิ้ง ท่าเรือคลองเตยอยู่บ้านเลขที่ 262 ซอยบางขวาง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม ยึดของกลางเป็นเงิน 1 ล้านบาท โดยกล่าวหาว่าเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่
ก่อนหน้านี้ หจก.คนึงพาณิชย์ โดย นายวิเชียร สุวรรณสิทธิ์ ผู้รับมอบอำนาจได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่า นายพงศ์วิทย์ รองผอ.อ.ต.ก. มีอำนาจในการตรวจรับและโอนเงินชำระค่าอาหารที่ หจก.คนึงพาณิชย์ ส่งให้กับเรือนจำจังหวัดชุมพร แต่นายพงศ์วิทย์ เรียกร้องให้ หจก.คนึงพาณิชย์ ส่งมอบเงินสด 1,700,000 บาทเป็นค่าตอบแทน หากไม่ยินยอมจะไม่โอนเงินค่าอาหารเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม เป็นเงิน 7,373,507 บาทให้ต่อมีต่อรองกัน จนลดเหลือ 1.5 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 งวดงวดแรก 1 ล้านบาท และงวดที่สอง 5 แสนบาท
ต่อมา ทาง ป.ป.ช.วางแผนและนัดหมายให้ หจก.คนึงพาณิชย์ ส่งมอบเงินงวดแรกจำนวน 1 ล้านบาทให้นายพงศ์วิทย์ที่โรงแรมนนทบุรีพาเลส ถนนนนทบุรี 1 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี ต่อมาเวลา 12.30 น.วันที่ 17 มิถุนายน นายพงศ์วิทย์และนายวิชาเดินทางมารับเงินโดยเข้าไปในรถของผู้เสียหาย และเดินออกมา เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวเข้าจับกุม พร้อมเงินของกลาง 1 ล้านบาท
https://www.isranews.org/isranews/55092-food00.html

**************************************************************



**************************************************************

พล.ต.ท ศานิตย์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลอ้างลูกน้องกรอกผิด



**************************************************************

คำสั่งสำนักพระราชวัง ไล่ 'จุมพล' ออกจากราชการ  ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
http://www.isranews.org/isranews-other-news/item/54361-pnews00_54361.html
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. มีคำสั่งจากสำนักพระราชวัง ที่ 183/2560 เรื่องลงโทษไล่ข้าราชการออกจากราชการ ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ด้วย พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ฝ่ายความมั่นคงและกิจกรรมพิเศษ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้กระทำผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่อยู่ใกล้ชิดติดพระองค์ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการไปในทางที่ไม่ถูกต้อง แสวงหาประโยชน์ให้กับตัวเอง ฝักใฝ่ในเรื่องการเมืองเป็นอันตรายต่อความมั่นคง ไม่เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย พฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นความผิดวินัยร้ายแรง สมควรรับโทษไล่ออกจากราชการ
สำนักพระราชวังพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เป็นความผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดตามมาตรา 85 (4) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จึงเห็นควรลงโทษไล่ออกจากราชการ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และ มาตรา 11 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. 2552 ลงโทษไล่ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ออกจากราชการ
อนึ่งการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษนี้ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ.กระทรวงของสำนักพระราชวังใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
 ชื่อของพล.ต.อ.จุมพล ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในสถานการณ์ที่ตำรวจถูกมองว่าเป็น"มะเขือเทศ"กันทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เก้าอี้ของพล.ต.อ.ปทีป ที่นั่งรักษาการอยู่ จึงมีอันต้องสั่นคอนเป็นธรรมดา และพล.ต.อ.จุมพล ก็ถูกมองว่า จะเป็นผู้ก้าวขึ้นมากอบกู้หน้าให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ เพราะได้ใจในกำลังพลตำรวจกว่า 2 แสนนายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่ต้องการเห็น"นายจุ๋ม" อดีตมือปราบ ขึ้นมากุมบังเหียน"ยุทธจักรโล่ห์เงิน" ให้เป็นไปในทิศทางที่มีการ"สั่งได้" ไม่ใช่"เกียร์ว่าง" และ"มะเขือเทศ"ทั้งแผ่นดิน
       
      พล.ต.อ.จุมพล จะมีภาพความเป็น"เพื่อนซี่บิ๊ก"ของ"นช.แม้ว" พ.ต.ท.ทักษิณ มาโดยตลอด


ก่อนหน้าจะมีคำสั่งดังกล่าว พล.ต.อ.จุมพล ได้ถูกออกหมายจับในคดีบุกรุกป่าทับลาน เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2560 หลังเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าตรวจสอบบ้านพักตากอากาศซึ่งปลูกอยู่ในเนื้อที่กว่า 13 ไร่ ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา

http://www.bbc.com/thai/thailand-39119559?#_=_
************************************************************** 

    าลอุทธรณ์ ตัดสินลงโทษจำคุก 1 ปี คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าฯ สตง.พร้อมด้วยอดีต ผอ.สำนักบริหารงานทรัพยากรบุคคล คดีจัดสัมมนาเท็จ หลังศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษคนละ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา  
picbbboi0128 2 17
 เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2559 ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุก คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และนายคัมภีร์ สมใจ อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารงานและทรัพยากรบุคคล สตง. เป็นคนละ 1 ปี จากเดิมที่ศาลอาญามีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง คุณหญิงจารุวรรณ และนายคัมภีร์ ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด ว่า ขณะที่คุณหญิงจารุวรรณดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ สตง. ได้ร่วมกันกับนายคัมภีร์ จัดให้มีการสัมมนาขึ้นที่ จ.น่าน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการสัมมนากันจริง แต่จัดสัมมนาเพื่อให้บุคคลที่มีรายชื่อเข้ารับการสัมมนาได้ไปร่วมงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน อีกทั้งยังสามารถเบิกค่าเดินทาง ค่าที่พัก ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้
โดยศาลอาญาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จากหลักฐานทั้งหมดของโจทก์ สามารถนำมาหักล้างกับคำให้การของจำเลยทั้ง 2 ได้ ซึ่งจำเลยทั้ง 2 ถือเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 83 พิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ขณะที่จำเลยทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ ก่อนที่ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นลงโทษจำคุกจำเลยทั้ง 2 คนละ 1 ปี ตามที่ปรากฎเป็นข่าว โดยศาลให้ประกันตัวระหว่างฎีกา (อ่านประกอบ : ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด คุณหญิงจารุวรรณ -ศุภชัย โพธิ์สุ)(ดูเอกสารประกอบ)
picbbboi28 2 17
 picbbboi0028 2 17
พลิกปูม 2 คดีดัง"คุณหญิงเป็ด"ก่อนศาลจำคุก 2 ปีไม่รอลงอาญาปมทอดกฐิน เขียนวันที่ วันจันทร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา 12:16 น.เขียนโดย isranews 

ชื่อของ ‘คุณหญิงเป็ด’ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และอดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร ตกเป็นที่สนใจของสาธารณชนอีกครั้ง ! ภายหลังศาลอาญาพิพากษาคดีที่อัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องคุณหญิงจารุวรรณ และนายคัมภีร์ สมใจ อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารงานและทรัพยากรบุคคล ตกเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีจัดงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานที่ จ.น่าน เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2546 โดยใช้การจัดสัมมนาบังหน้า เพื่อให้สามารถเบิกงบไปใช้ได้ ทั้งที่ไม่มีการจัดสัมมนาขึ้นจริง พิพากษาให้จำคุกคนละ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา



หลายคนอาจจะลืมไปแล้วว่ากรณีนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org พลิกสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในคดีดังกล่าว มานำเสนอ ดังนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน มีนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีกล่าวหาคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กับพวก จัดสัมมนาโครงการ “สตง. ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา” เป็นเท็จ เนื่องจากแท้จริงแล้ว มีวัตถุประสงค์ที่จะนำบุคลากรของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ไปร่วมถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2546 ณ จังหวัดน่าน คณะอนุกรรมการไต่สวน ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยรวบรวมพยานหลักฐาน และไต่สวนพยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง แล้วปรากฏข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้มีหนังสือถึงกรมการศาสนา แสดงความประสงค์จะขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินประจำปี 2546 ไปถวายพระสงฆ์จำพรรษา ณ วัดพญาภู และวัดพระธาตุช้างค้ำ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้มีคำสั่ง ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2546 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจำปี 2546 ซึ่งได้กำหนดในวันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2546 ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพญาภู และวัดศรีพันต้น (วัดราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยคณะกรรมการดำเนินการมีนางสาววิไลลักษณ์ อัญมณีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นประธานกรรมการ และมีนายคัมภีร์ สมใจ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นรองประธานกรรมการ โดยให้คณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานกฐินพระราชทานดังกล่าวรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องบรรลุวัตถุประสงค์ 



ต่อมา วันที่ 16 ตุลาคม 2546 สำนักงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยนายคัมภีร์ สมใจ ผู้อำนวยการ ได้ขออนุมัติจัดโครงการสัมมนา เรื่อง “สตง. ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา” ในวันที่ 31 ตุลาคม 2546 ระหว่างเวลา 08.30 – 18.30 น. ณ โรงแรมซิตี้ปาร์ค อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการสัมมนา จำนวน 175 คน วิทยากรโดยนายสันติภาพ อินทรพัฒน์ สมาชิกวุฒิสภา และวิทยากรของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประมาณการค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 479,980 บาท และคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงนามอนุมัติในวันเดียวกันคือ วันที่ 16 ตุลาคม 2546 ระหว่างวันที่ 22 – 24 ตุลาคม 2546 นางสาววิไลลักษณ์ อัญมณีรัตน์ แจ้งว่า ได้มีการสำรวจรายชื่อผู้เข้าร่วมกฐินพระราชทาน ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่าย และค่าที่พักด้วยตนเอง มีจำนวน 100 คนเศษ และเมื่อรวมกับผู้บริหารอีก 30 คน ก็จะได้เพียง 130 คนเศษ จึงได้มีการหารือกันระหว่าง คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย นางสาววิไลลักษณ์ อัญมณีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้ว่าการ-ตรวจเงินแผ่นดิน และนายคัมภีร์ สมใจ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ได้พิจารณาร่วมกันแล้วเห็นสมควรให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าร่วมพิธีกฐินพระราชทานก่อน เมื่อถวายผ้าพระกฐินพระราชทานเสร็จ จึงกลับมาสัมมนาที่โรงแรมซิตี้ปาร์ค โดยรวมหัวข้อเช้าและบ่ายเข้าด้วยกัน เริ่มสัมมนาตั้งแต่เวลา 15.45 น. จนถึง 19.00 น. ซึ่งผู้เข้าร่วมหารือไม่มีผู้ใดคัดค้าน ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 ผู้มีรายชื่อเข้าร่วมสัมมนาและผู้สังเกตการณ์เดินทางโดยรถโดยสารปรับอากาศ และรถตู้ไปเข้าร่วมงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานตามกำหนดการถวายกฐินพระราชทานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ช่วงเช้า ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร รับประทานอาหารกลางวันที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ช่วงบ่าย ณ วัดพญาภู และถวายกฐินสามัคคีของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ณ วัดศรีพันต้น ทั้งนี้ งานการถวายกฐินพระราชทานแล้วเสร็จประมาณ 16.00 น. 



คณะสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้เดินทางเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวในที่พักและเดินทางไปยังสโมสรหมู่บ้านสันติภาพ 2 เป็นสถานที่เปิดโล่ง ไม่มีหลังคาคลุม มีอาคารอยู่หนึ่งหลังมีลักษณะชั้นเดียว หลังคาเป็นระเบียงข้างอาคารมีสระว่ายน้ำอยู่หนึ่งสระ มีการตกแต่งไฟ มีเครื่องขยายเสียง มีการจัดเวทีเขียนป้ายบนเวทีที่มิได้มีข้อความระบุว่ามีการสัมมนา แต่กลับมีข้อความว่า “ขอต้อนรับ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และคณะ ด้วยความรักยิ่ง 31 ตุลาคม 2546” มีการจัดโต๊ะกลมแบบโต๊ะจีนหันหน้า เข้าหากัน แต่ละโต๊ะนั่งประมาณ 9 – 10 คน จัดอยู่ชั้นระเบียง และชั้นล่างรอบสระว่ายน้ำและพื้นที่โดยรอบ เมื่อผู้เข้ารับการสัมมนามาถึงสโมสรหมู่บ้านสันติภาพ 2 จะมีการลงทะเบียนในรายชื่อผู้เข้าร่วมการสัมมนา เรื่อง “สตง. ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา” วันที่ 31 ตุลาคม 2546 ระบุสถานที่ว่า โรงแรมซิตี้ปาร์ค อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลรับลงทะเบียนหน้าสถานที่จัดงาน ไม่มีการแจกเอกสารในการสัมมนา หรือการกำหนดกลุ่มให้ระดมความคิดเห็นแต่ประการใด 



จากการไต่สวนฟังได้ว่าการจัดสัมมนาเรื่อง “สตง. ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา” ไม่มีการสรุปผลการสัมมนาในครั้งนี้เป็นเอกสารแต่อย่างใด โดยปกติการจัดสัมมนาหากมีการเปลี่ยนแปลงวิทยากร เทคนิคการนำเสนอ และสถานที่รวมทั้งงบประมาณจะต้องทำการเสนอขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงกับผู้มีอำนาจ การที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินนำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษา ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพญาภู จังหวัดน่านในวันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2546 และทราบกำหนดการดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2546 แต่ยังมีการจัดโครงการสัมมนาในวันเวลาเดียวกัน ซึ่งมีกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมงานกฐินพระราชทานเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันกับกลุ่มบุคคลผู้เข้าร่วมสัมมนา ย่อมเล็งเห็นได้ว่าไม่สามารถดำเนินการตามแผนงานได้ พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมีเจตนานำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ไปถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน โดยจัดโครงการสัมมนาเพื่อให้ผู้ร่วมเดินทางสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากทางราชการได้ โดยมิชอบ คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติดังนี้ 1. คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 2. นายคัมภีร์ สมใจ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีมูลความผิดทางวินัย ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 85 วรรคสอง และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 3. นางสาววิไลลักษณ์ อัญมณีรัตน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย ไม่มีหน้าที่ในการจัดสัมมนาดังกล่าว พฤติการณ์และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ยังฟังไม่ได้ว่าได้ร่วมกระทำผิด ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการทางวินัยกับนายคัมภีร์ สมใจ และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด ฟ้องคดีอาญาต่อศาลที่มีเขตอำนาจกับคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และนายคัมภีร์ สมใจ ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 และมาตรา 97 ข้างต้นคือสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช. ที่มีมติชี้มูลความผิดคุณหญิงจารุวรรณ กับนายคัมภีร์ กรณีการเบิกเงิน สตง. อ้างว่าไปจัดสัมมนา แต่กลับนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการทอดกฐิน แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ! คุณหญิงจารุวรรณ ยังถูกกล่าวหาอีกคดีหนึ่ง คือกรณีการเบิกเงินไปศึกษาดูงานที่ สตง. ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 5-14 พ.ย. 2546 โดยมิชอบ เนื่องจากได้ขอ ‘ตั๋วฟรี’ จากการบินไทยให้กับ ‘บุตรสาว’ ร่วมเดินทางไปด้วย ในสำนวนการไต่สวนของคณะอนุกรรมการไต่สวน ป.ป.ช. ระบุว่า ข้อเท็จจริง คือ สตง.จัดโครงการฝึกอบรมผู้บริหารหลักสูตรผู้บริหาร/ผู้เชี่ยวชาญ สตง. ยุคใหม่ โดยส่วนหนึ่งเป็นการศึกษาดูงานในต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5-14 พ.ย. 2546 ในประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาวันที่ 8 ต.ค. 2546 สตง.มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ค่าโดยสารเครื่องบินในราคาพิเศษถึงกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย โดยอ้างว่า จะนำไปใช้ในการเดินทางไปฝึกอบรมดังกล่าว ต่อมา วันที่ 14 ต.ค. 2546 การบินไทย มีหนังสือตอบกลับมาว่า ยินดีให้ส่วนลดค่าตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ และชั้นประหยัด และยังมอบตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพ-ปารีส ชั้นประหยัดให้ฟรีอีก 10 ใบ ทั้งนี้ สตง.ทำสัญญาจ้างบริษัทในการให้บริการนำคณะศึกษาดูงานของ สตง.จำนวน 40 คน ไปยุโรป โดยมีค่าจ้างรวม 3.12 ล้านบาท แบ่งชำระเป็น 3 งวด ค่าจ้างดังกล่าวรวมตั๋วเครื่องบินไป-กลับ โดยสายการบินไทย ชั้นนักท่องเที่ยวอยู่ด้วย และ สตง.จ่ายเงินเพื่อชำระค่าจ้างตามสัญญาให้แก่บริษัทตามสัญญา 3.12 ล้านบาท จ่ายเป็นเช็ค 3 ฉบับ ขณะที่ตามสัญญาจ้าง ระบุจำนวนผู้เดินทาง 40 คน แต่ข้อเท็จจริงมีผู้เดินทางไปกับคณะรวม 42 คน โดยผู้ที่เพิ่มเข้ามานอกเหนือสัญญา ได้แก่ น้องสาว และลูกสาว ของผู้บริหารระดับสูงใน สตง.ที่ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของ สตง. และยังไม่มีการหักค่าตั๋วฟรีออกจากค่าทัวร์ด้วย แต่น้องสาว และลูกสาวของผู้บริหารระดับสูงใน สตง. ใช้ตั๋วเครื่องบินฟรีที่ได้รับจากบริษัทการบินไทย ทั้ง ๆ ที่การบินไทยได้มอบตั๋วดังกล่าวให้เพื่อใช้ประโยชน์ของราชการ หรือกิจการของ สตง. แต่ล่าสุด ช่วงกลางปี 2558 ป.ป.ช. ได้ลงมติตีตกข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยส่งให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทราบ มีรายละเอียดว่า ป.ป.ช. ได้พิจารณา โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อดำเนินการไต่สวน รวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ และเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณา ซึ่งจากสำนวนข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นว่า การกระทำของคุณหญิงจารุวรรณ ไม่เป็นไปตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ถือเป็นการประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการ แต่โดยที่ไม่มีกฎหมายระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวินัยสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงไม่อาจดำเนินการทางวินัยได้ ส่วนการถอดถอนออกจากตำแหน่ง ปรากฏว่าคุณหญิงจารุวรรณได้พ้นตำแหน่งแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องส่งไปยังผู้มีอำนาจในการถอดถอนเพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 93 วรรคสาม อีก ส่วนข้อกล่าวหาทางอาญาไม่มีมูล ดังนั้น ป.ป.ช. จึงวินิจฉัยให้ข้อกล่าวหาตกไป ทั้งหมดคือ 2 คดีใหญ่ที่ ‘คุณหญิงเป็ด’ เป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง และ ป.ป.ช. เป็นคนไต่สวนทั้งสองคดี โดยคดีเบิกเงินดูงานต่างประเทศถูกตีตกไป แต่คดีทอดกฐิน ถูกชี้มูลผิดทางอาญา ส่ง อสส. ฟ้อง ก่อนที่ล่าสุดศาลอาญาจะพิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญาอีกด้วย ! อ่านประกอบ : ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด คุณหญิงจารุวรรณ -ศุภชัย โพธิ์สุ “คุณหญิงเป็ด”โล่ง! ป.ป.ช.ตีตกคดีเบิกตั๋วฟรีดูงานตปท. เหตุลงโทษไม่ได้


************************************************************** 



************************************************************** 

คุก2ปี6เดือนใช้ของหลวงงานแต่งลูก

พิพากษาจำคุก 2 ปี 6 เดือน ปรับหมื่นบาท นพ.ชัยวัน เจริญโชคทวี อดีตคณบดีแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล นำของหลวงไปใช้ในงานแต่งลูกสาว รอลงอาญา 2 ปี
                    28 มี.ค. 59  ที่ห้องพิจารณา 813 ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.2117/2558 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นพ.ชัยวัน เจริญโชคทวี อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล และอดีตกรรมการแพทยสภา เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทำจัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และ 157 
                    ตามฟ้องโจทก์ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 58 ระบุพฤติการณ์จำเลยสรุปว่า ระหว่างต้นเดือน ม.ค. - 16 ม.ค. 54 ขณะจำเลยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ วชิรพยาบาล ได้ใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต ด้วยการสั่งให้เจ้าหน้าที่นำเก้าอี้ 100 ตัว พร้อมผ้าปลอกคลุมเก้าอี้ เครื่องถ่ายวิดีโอ 2 เครื่อง , เครื่องเล่นวิดีโอ , กล้องถ่ายรูป และผ้าเต็นท์ หลายผืน เพื่อนำไปใช้ในงานวิวาห์บุตรสาวจำเลยที่บ้านพักส่วนตัว รวมทั้งรถยนต์ รถตู้ ส่วนกลางอีก 4 คัน เพื่อใช้รับส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมพิธี และขนย้ายอุปกรณ์ ทั้งที่บ้านพักและงานฉลองมงคลสมรสที่โรงแรม ซึ่งล้วนเป็นทรัพย์สินของทางราชการ การกระทำของจำเลยนับเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนตัว อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ และคณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล ต่อมาเดือน ก.ย. 56 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลความผิดวินัยและอาญากับจำเลย โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดด้วย ครั้งแรกจำเลยให้การปฏิเสธ แต่ต่อมาให้การรับสารภาพไม่ต่อสู้คดี
                    ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ตามฟ้อง
                    จึงพิพากษาให้จำคุก 5 ปี และปรับ 20,000 บาท คำให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยไว้ 2 ปี 6 เดือน และปรับ 10,000 บาท
                    อย่างไรก็ดี จำเลยได้สำนึกผิด และชดใช้ค่าเสียหายคืนให้แก่รัฐทันที ประกอบกับเป็นแพทย์ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงเห็นควรให้รอลงการลงโทษจำเลย ไว้เป็นเวลา 2 ปี

************************************************************** 

จ.ยะลา พันเอกสัสดีีจังหวัดข่มขู่เจ้าของร้านเสื้อผ้า


การลงโทษข้าราชการและเจ้าหน้าที่ขอรัฐ


ข่าวฟ้องร้องในวงราชการ


กลุ่มที่1ลำดับที่4มีอธิการบดีม.มหาสารคาม

อาจารย์ราชภัฏนครสวรรค์ลอกผลงาน